หญ้าลูกข้าว สรรพคุณของต้นหญ้าลูกข้าว !

หญ้าลูกข้าว

หญ้าลูกข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ Spermacoce ocymoides Burm.f. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Borreria laevicaulis (Miq.) Ridl.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

ลักษณะของหญ้าลูกข้าว

  • ต้นหญ้าลูกข้าว จัดเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง สูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร พบขึ้นในพื้นที่เปิดโล่งและตามพื้นที่น้ำขังแฉะ[1]

ต้นหญ้าลูกข้าว

รูปหญ้าลูกข้าว

รากหญ้าลูกข้าว

  • ใบหญ้าลูกข้าว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ส่วนเส้นใบเป็นสีม่วงแกมน้ำตาล มีขนเล็กน้อยทั้งสองด้าน หูใบจะอยู่ระหว่างก้านใบ[1]

ใบหญ้าลูกข้าว

  • ดอกหญ้าลูกข้าว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกย่อยมีจำนวนมาก เรียงตัวอัดกันแน่นเป็นช่อรูปครึ่งทรงกลม กลุ่มดอกย่อยมีใบรองรับ 2 ใบ ดอกย่อยมีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ โดยจะออกดอกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนมีนาคม[1]

ดอกหญ้าลูกข้าว

  • ผลหญ้าลูกข้าว ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม แตกตามขวาง[1]

สรรพคุณของหญ้าลูกข้าว

  • ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้หญ้าลูกข้าวทั้งต้น ประมาณ 2 กิโลกรัม ผสมกับผักเป็ดแดงทั้งต้น 2 กิโลกรัม, แก่นสลัดได 0.5 กิโลกรัม, มะกรูด 30 ผล, มะนาว 30 ผล, และเกลือพอประมาณ นำมาดองกับน้ำซาวข้าว ใช้ดื่มเป็นยาแก้โรคผอมแห้ง (ทั้งต้น)[1]
เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หญ้าลูกข้าว”.  หน้า 51.

ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Dinesh Valke, Siyang Teo, Sh@ist@, Vijayasankar Raman), นนทพล เทศธรรม

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด