มะเฟือง สรรพคุณและประโยชน์ของมะเฟือง 27 ข้อ !

มะเฟือง

มะเฟือง ชื่อสามัญ Star fruit

มะเฟือง ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa carambola L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Averrhoa acutangula Stokes, Sarcotheca philippica (Villar) Hallier f.) จัดอยู่ในวงศ์กระทืบยอด (OXALIDACEAE)

สมุนไพรมะเฟือง มีชื่อเรียกอื่นว่า เฟือง (ภาคใต้)

มะเฟืองเป็นผลไม้ที่นิยมมากในแถบเอเชียตะวันออกรวมถึงบ้านเราด้วย ผลไม้ชนิดนี้มีลักษณะเป็นทรงกระสวย เมื่อหั่นเป็นแนวขวางจะเป็นรูปเหมือนดาวห้าแฉก สีผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง ส่วนเรื่องรสชาติจะออกเปรี้ยวแบบเฝื่อน ๆ โดยมีทั้งรสเปรี้ยวและหวาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ โดนผลมะเฟืองสุกนั้นประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิด

โดยประโยชน์ของมะเฟืองในผลมะเฟืองสุกน้ำหนัก 100 กรัมจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 6.7 กรัม โปรตีน 1 กรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 mg. วิตามินซี 35 mg. ธาตุฟอสฟอรัส 12 mg. ตามลำดับ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย วิตามินบี 5 วิตามินบี 9 (หรือกรดโฟลิก) ธาตุสังกะสีและไขมันอีกด้วย สำหรับผู้ที่รับประทานยาลดไขมัน ยาคลายเครียดอยู่ไม่ควรรับประทานมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองมีฤทธิ์ไปต่อต้านการทำงานของตัวยา และผู้ป่วยที่เป็นโรคไตหรือกำลังจะฟอกไต ก็ไม่ควรรับประทานมะเฟือง เพราะมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูงซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือทำให้อาการทรุดหนักเพิ่มมากขึ้นได้

พิษมะเฟือง เนื่องจากมะเฟืองมีกรดออกซาลิกในปริมาณที่สูง การได้รับสารนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมากสามารถเพิ่มโอกาส เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ เนื่องจากสารนี้จะไปจับตัวกับแคลเซียมและตกเป็นผลึกนิ่วในไต เมื่อผลึกนิ่วจำนวนมากเกิดการตกตะกอนจะทำให้เกิดการอุดตันในเนื้อไตและท่อไต ทำให้ไตวายเฉียบพลันได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาวะการขาดน้ำในร่างกายของเราด้วย และการเกิดภาวะไตวายไม่ได้เป็นกันทุกราย แต่ก็มีรายงานว่ามีผู้ป่วยที่ดื่มน้ำมะเฟืองหลังจากทำงานหนักและสูญเสียเหงื่อในปริมาณมากจะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น โดยมีงานวิจัยเกี่ยวกับมะเฟืองอธิบายว่ามะเฟืองเปรี้ยวนั้นมีโอกาสก่อให้เกิดโรคดังกล่าวได้มากกว่ามะเฟืองที่มีชนิดหวาน เนื่องจากมีกรดออกซาลิกที่มากกว่านั้นเอง

ประโยชน์ของมะเฟือง

  1. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  2. ช่วยในการขับพิษและพยาธิในร่างกาย เมื่อนำดอกมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  3. มีคุณสมบัติในการช่วยผ่อนคลายความเครียด บรรเทาอาการฟุ้งซ่าน
  4. มะเฟืองมีฤทธิ์ในการกล่อมประสาท ช่วยให้นอนหลับได้สบายขึ้น
  5. มะเฟืองมีส่วนช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติสม่ำเสมอ
  6. ป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  7. ยาแก้ร้อนใน ช่วยดับกระหาย
  8. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ถอนพิษไข้
  9. เป็นยาขับเสมหะ
  10. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  1. ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
  2. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  3. มะเฟืองมีส่วนช่วยลดความอ้วนหรือช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. น้ำคั้นจากมะเฟืองช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะได้
  5. น้ำคั้นจากผลมะเฟืองสามารถช่วยลบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าและของใช้ต่าง ๆ ได้
  6. ใช้กินแก้ไข้ ขับระดู ขับปัสสาวะ ด้วยการนำใบมะเฟืองมาต้มผสมกับน้ำ
  7. ช่วยรักษาอาการตุ่มคันตามลำตัว ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำอาบ
  8. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
  9. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
  10. ช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวม ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
  11. ช่วยรักษาตุ่มอีสุกอีใสตามร่างกาย ด้วยการนำใบสดของมะเฟืองมาตำแล้วนำมาพอก
  12. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  13. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  14. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  15. ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบในกระเพาะอาหาร เมื่อนำส่วนรากมะเฟืองมาต้มเป็นน้ำดื่ม
  16. ผลมะเฟืองใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่ช่วยในการรักษาสิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณ

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะเฟืองสด ต่อ 100 กรัม

  • มะเฟืองพลังงาน 31 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 6.73 กรัม
  • น้ำตาล 3.98 กรัม
  • เส้นใย 2.8 กรัม
  • ไขมัน 0.33 กรัม
  • โปรตีน 1.04 กรัม
  • ลูทีนและซีแซนทีน 66 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 1 0.014 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 2 0.016 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 3 0.367 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.391 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี 6 0.017 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 9 12 ไมโครกรัม 3%
  • โคลีน 7.6 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินซี 34.4 มิลลิกรัม 41%
  • วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุเหล็ก 0.08 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมงกานีส 0.037 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 12 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุโพแทสเซียม 133 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม 1%

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

“ผู้ที่สุขภาพเป็นปกติรับประทานมะเฟืองได้ แต่อย่ารับประทานบ่อย เน้นรับประทานมะเฟืองหวาน ผู้ที่เป็นหรือมีความเสี่ยงต่อโรคไต ห้ามรับประทานเด็ดขาด”

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย
เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด